เกร็ดตรุษจีน # 7 กินเกี๊ยวแล้วโชคดีตลอดปี

ที่มา คุณ peijing Bloggang.com



" เจี่ยวจือ หรือ เกี๊ยวต้ม "
อาหารยอดนิยมที่สุดของชาวจีน



" เจี่ยวจือ (饺子)หรือ เกี๊ยวต้มจีน "
เป็นอาหารท้องถิ่นจีนที่มีประวัติความเป็นมายาวนาน
ตลอดจนได้รับความนิยมมาอย่างไม่เสื่อมคลาย
จนกระทั่งมีคำกล่าวว่า ‘ ไม่มีอะไรอร่อยเท่าเจี่ยวจืออีกแล้ว ’
และในวันแรกของเทศกาลตรุษจีนของชาวจีนทางเหนือ
อาหารชนิดนี้ก็เป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้เลย
ทั้งยังได้รับเกียรติให้เป็นอาหารมื้อแรกของวันด้วย


ประเพณีการกินเจี่ยวจือในวันตรุษจีน
เริ่มเป็นที่นิยมกันมาตั้งแต่ในสมัยราชวงศ์หมิง(ค.ศ.1368-1644)
โดยคนในครอบครัวจะต้องห่อเจี่ยวจื่อให้เสร็จก่อนเที่ยงคืนของวันสิ้นปี
รอจนยามที่เรียกว่า " จื่อสือ ( 子时) "
ซึ่งเป็นเวลาประมาณ 23 - 1 นาฬิกาของวันถัดมาก็จะเริ่มรับประทานกัน
และเป็นเวลาเริ่มต้นวันใหม่ของปีใหม่พอดี การทานเจี่ยวจือจึงมีความหมายว่า
เปลี่ยนปีเชื่อมเวลา (更岁交子) '
เพราะคำเรียกอาหารชนิดนี้ 饺- เจียว ก็ออกเสียงคล้าย 交-เจียว
ซึ่งมีความหมายว่า เชื่อมต่อกัน และ 子-จื่อ ก็คือ 子时 – จื่อสือ นั่นเอง


นอกจากนั้น การรับประทานอาหารชนิดนี้
ยังมีความหมายสำคัญของการรวมตัวของคนในครอบครัวอีกด้วย
เมื่อแป้งที่ห่อไส้ เรียกว่า 和面- เหอเมี่ยน
คำว่า 和พ้องเสียงกับคำว่า 合 – เหอ ที่แปลว่า ร่วมกัน
และ 饺 - เจี่ยว ก็ออกเสียงคล้ายกับคำว่า 交
ที่มีอีกความหมายว่ามีความสัมพันธ์ต่อกันด้วย


การรับประทานเจี่ยวจือในวันตรุษจีนยังมีตำนานและเรื่องเล่ามากมาย
ดังเช่น มีการกล่าวกันว่ามีส่วนเกี่ยวข้องกับ หนี่ว์วา (女娲) ผู้สร้างมนุษย์
โดยเชื่อว่า ในระหว่างที่หนี่ว์วากำลังปั้นดินให้เป็นมนุษย์นั้น
เนื่องจากอากาศเย็นจึงทำให้ดินร่วนแตกง่าย
เพื่อให้ส่วนที่ปั้นเป็นหูไม่หลุดออกจากหัว
หนี่ว์วา จึงเจาะรูในหูและใช้เส้นด้าย (线- เสี้ยน) คล้องไว้
แล้วลอดออกมาทางปากของตุ๊กตาดิน
ดังนั้น เพื่อเป็นการระลึกถึงบุญคุณของหนี่ว์วา
ชาวบ้านจึงปั้นเจี่ยวจือให้เป็นรูปคล้ายหูคน ภายในบรรจุไส้ (馅-เสี้ยน)
แล้วนำมารับประทาน




กรรมวิธีการห่อเจี่ยวจือ
ต้องแผ่แป้งให้บางเป็นรูปวงกลมแล้วจึงนำมาใส่ไส้ที่ผสมแล้ว



นอกจากนั้น ก็มีเรื่องที่เชื่อว่าเป็นเรื่องจริงเล่าขานกันว่า
ในสมัยปลายของราชวงศ์ฮั่นตะวันออก (ค.ศ.22-220)
ขณะที่ จางจงจิ้ง แพทย์หลวงที่ได้รับการขนานนามว่าเป็น
หมอเทวดา กำลังเดินทางกลับภูมิลำเนาเดิม
ที่เมืองหนันหยัง-มณฑลเหอหนัน หลังจากลาออกจากราชการ
ระหว่างทางซึ่งบังเอิญเป็นวันเทศกาลตงจื้อ
(วันที่ช่วงกลางวันสั้นที่สุด และกลางคืนยาวที่สุดของปี
เมื่อผ่านวันนี้ไปแล้ว กลางวันก็จะค่อยๆ นานขึ้น
ปัจจุบันระบุในปฏิทินระบบสุริยคติว่าคือวันที่ 22 หรือ 23 ธันวาคมของทุกปี)
เขาได้พบกับชาวบ้านมากมายที่ต้องทนทุกข์กับความหนาวเหน็บ
จนหูทั้งสองข้างมีเลือดออก และที่ป่วยกระทั่งเสียชีวิตไปก็มีไม่น้อย


หมอเทวดาจางเห็นดังนั้น จึงตัดสินใจตั้งเพิงเพื่อรักษาผู้ป่วย
ทั้งยังตั้งเตาขนาดใหญ่เพื่อต้มเนื้อแพะปรุงพิเศษด้วยยาจีน
ที่มีฤทธิ์ร้อนและขับไล่ความหนาว
แล้วนำแป้งมาห่อเนื้อแพะเหล่านั้นเป็นรูปคล้ายหูคน
เมื่อปรุงเสร็จแล้วก็นำไปแจกจ่ายให้กับผู้ยากไร้ได้รับประทานกัน
ตั้งแต่วันตงจื้อไปจนถึงวันตรุษจีน อันเป็นระยะเวลาร่วม 1 เดือน
ซึ่งสามารถบรรเทาอาการเจ็บป่วยให้กับคนยากคนจนได้มากมาย


ตั้งแต่นั้นมา คนในหมู่บ้านดังกล่าวและคนรุ่นหลังที่สำนึกในบุญคุณ
จึงจัดกิจกรรมดังกล่าวเรื่อยมา และเรียกแป้งห่อเนื้อรูปหูว่า
" เจี่ยวเอ่อร์ ( 饺耳) "
耳แปลว่า หู และ 饺子เจี่ยวจือ จนกลายเป็นประเพณีสืบทอดเรื่อยมา




สมาชิกในครอบครัวช่วยกันห่อเกี๊ยว ฉลองตรุษจีน



การที่เจียวจื่อเป็นอาหารสำคัญที่ไม่อาจขาดได้ในวันตรุษจีน
ยังมีเหตุผลมาจากรูปลักษณ์ของเจี่ยวจือ
ที่เป็นรูปทรงคล้ายเงินในสมัยโบราณ
การรับประทานเจี่ยวจือ จึงเหมือนการนำเงินทองเข้ามาสู่ตัว
นอกจากนั้น ไส้ในเจี่ยวจือก็ยังสะดวกต่อการบรรจุสิ่งที่เป็นมงคลลงไป
เป็นการให้ความหวังต่อคนที่รับประทานด้วย เช่น
ลูกกวาด ถั่วลิสง พุทราแดง เม็ดเกาลัด เหรียญเงิน
โดยคนที่กัดเจอลูกกวาด หมายถึง ชีวิตในปีใหม่ก็จะยิ่งหอมหวาน
ในขณะที่ ถั่วลิสง มีความหมายว่า แข็งแรงและอายุยืนนาน
ส่วน พุทราแดง และ เกาลัด หมายถึง การจะมีบุตรภายในปีนั้น
และหากกัดเจอ เหรียญเงิน ก็จะยิ่งร่ำรวยเงินทอง


อย่างไรก็ตามในปัจจุบัน
เจี่ยวจือไม่ได้จำกัดวงแค่เป็นอาหารในช่วงเทศกาลตรุษจีนแล้วเท่านั้น
แต่ยังพัฒนาจนกลายเป็นอาหารหลักของชาวจีนทางเหนือ
ดังที่เราจะสามารถสั่งเจี่ยวจือไส้ต่างๆ
มาทานได้ตามร้านอาหารทั่วไปในปักกิ่ง และ เหลียวหนิง
นอกจากนั้น ยังมีการประยุกต์ไส้ของเจียวจื่อให้มีความหลากหลาย
และมีราคาแพงขึ้นกว่าเดิมด้วย เช่น ไส้หูฉลาม เป๋าฮื้อ หรือ
อาหารพิสดารทั้งหลาย ซึ่งเป็นการเพิ่มมูลค่าของอาหาร



เจี่ยวจือประยุกต์ มีสีสันดึงดูดใจผู้รับประทาน


และสำหรับใครที่อยากจะไปลองชิมเจียวจื่อ
ก็ได้มีผู้รู้กรุณาแนะนำร้านมาให้ดังนี้ค่ะ

ร้านเจี่ยวจือชื่อดังในปักกิ่ง

1.หลงถันเจี่ยวจือไห่เซียนเฉิง
ที่อยู่เขตย่ายุ่นชุนเสี่ยวชีว์, ฮุ่ยจงเป่ยหลี่, ซื่อชีว์
หมายเลขโทรศัพท์ 010-64858038

2.เทียนจินไป่เจี่ยวจือหย่วน
ที่อยู่เขตซีเฉิงชีว์, ถนนซินเหวินฮั่วเจี่ย12, ฮ่าว
หมายเลขโทรศัพท์ 010-66059371

3.จิ่วพิ่นเจี่ยวจือเฉิง
ที่อยู่เขตเสวียนอู่ชีว์, ถนนกว่างเน่ยต้าเจียหลิน 89, ฮ่าว
หมายเลขโทรศัพท์ 010–6318

ร้านเจี่ยวจือชื่อดังในกว่างโจว(กวางเจา)

1.ตงเป่ยเหริน มีทั้งสิ้น 5 สาขา คือ
1.เถาจินเป่ย 020-83576277, 83575276
2.ฮัวหยวนต้าซ่า 020-87501711, 87571507
3.เหอไท่ 020-87751854, 87600688-3111
4.หลันเป่าสือต้าซ่า 020-81361466, 81362476
5.เจียงหนันซีลู่ 020-84401818, 84439889

2.เฮยเทียนเอ๋อ มีทั้งสิ้น 12 สาขา เช่น
1.เทียนเหอ 020-87547095
2.ตงซัน 020-87675687
3.เจี่ยฟั่งเป่ยลู่ 020-83643305
4.ซีหูลู่ 020-83365096
5.กงเยี่ยต้าเต้าลู่ 020-84341582 ฯลฯ




***ขอขอบคุณ (Thank You) ที่มาขอข้อมูล, บทความและภาพประกอบ
- ผู้จัดการออนไลน์
- http://www.yesky.com
- http://www.china.org.cn
- http://www.etiquette.aisec.com
- http://www.5c5w.com
- BG สวยๆ จาก คุณ lozocat

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

แหล่งเงินทุนธนาคารพาณิชย์

อาหารปลอดภัยด้วยรังสี

ไไไใเนนเสำใแนท = พิมผิดคร้าบบ