10 ข้อลับ ที่ห้าง ไม่อยากให้ลูกค้ารู้

แปลและเรียบเรียงจาก Sally Wadyka for MSN Health & Fitness
โดย ดร.พรธิภา องค์คุณารักษ์
สาขาวิชาการจัดการเทคโนโลยีอุตสาหกรรมเกษตร
คณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์


10 ข้อลับ ที่ห้าง (Big-C, คาร์ฟูร์, โลตัส, Top, etc) ไม่อยากให้ลูกค้ารู้

จากบทความเรื่อง 10 Things Your Grocery Store Doesn't Want You to Know
จากเว็บไซต์ http://www.msn.com ซึ่งมีเนื้อหาเกี่ยวข้องกับประชาชนจำนวนมาก
และเป็นสิ่งที่เราอาจไม่เคยทราบว่าร้านค้าปลีกและซูเปอร์มาร์เก็ตมีกลยุทธ์
ในการขายสินค้าอย่างไรบ้าง และมีความลับใดที่เราไม่เคยรู้
บางอย่างอาจเป็นสิ่งที่เรามองข้ามไป เช่น ความสะอาดหรือการส่งเสริมการขาย
ทำให้ประชาชนทั่วไปมักซื้อของมากเกินความจำเป็น


กลยุทธ์ & ความลับซูเปอร์มาร์เก็ต
หลายคนอาจไม่เคยคิดว่า การเดินซื้อสินค้าในร้านค้าปลีกหรือซูเปอร์มาร์เก็ตเป็นสิ่งอันตรายและไม่ เคยคำนึงถึงเบื้องหลังหรือฉากหลังของการดำเนินธุรกิจของร้านค้าเหล่านั้น พฤติกรรมการซื้อสินค้าของผู้บริโภคได้กลายเป็นศาสตร์ที่มีการศึกษาอย่างไม่ รู้จบ
โดยนักวิจัยตลาดได้ใช้เวลาศึกษานานหลายปี เพื่อทำให้ลูกค้าสามารถมองเห็นสินค้าที่มีในร้านได้มากที่สุด เพราะยิ่งลูกค้าเห็นสินค้าในร้านมากเท่าไร โอกาสที่เขาก็จะซื้อสินค้ามากขึ้นเท่านั้น (โดย Marion Nestle ผู้แต่งหนังสือ What to Eat : An Aisle-by-Aisle Guide to Savvy Food Choices and Good Eating) ดังนั้นหากท่านต้องการเป็นนักช็อปที่ชาญฉลาดต้องไม่พลาดที่จะอ่านคอลัมน์ใน วันนี้

1.ตะกร้าหรือรถเข็นในร้านมีเชื้อโรคมากมาย
จากการศึกษาพบว่าในตะกร้าหรือรถเข็นมีแบคทีเรียชนิดโคลิฟอร์ม ซึ่งเป็นเชื้อที่พบในห้องน้ำมากกว่า 60% โดยแบคทีเรียชนิดนี้อาจติดมากับอาหารดิบหรือเด็กที่นั่งในรถเข็น (โดย Chuck Gerba, Ph.D., นักจุลชีววิทยา ที่มหาวิทยาลัยแอริโซนา สหรัฐอเมริกา) โดยให้เหตุผลว่า อาจเกิดจากการวางผักสดในรถเข็นที่เพิ่งมีเด็กนั่งไปก่อนหน้านี้ และยังพบด้วยว่าในรถเข็นมีจำนวนแบคทีเรียมากกว่า พื้นผิวอื่นๆ เช่น ในลิฟต์ โทรศัพท์ และห้องน้ำสาธารณะ จึงแนะนำให้ใช้ผ้าจุ่มน้ำยาฆ่าเชื้อโรคเช็ดบริเวณที่จับและที่นั่งในรถเข็น เพื่อป้องกันการปนเปื้อน และควรล้างมือให้สะอาดหลังเสร็จจากการช็อปปิ้ง

2.ต้องแปลความวันที่ที่พิมพ์ในฉลาก

ในสหรัฐอเมริกานั้นกฎหมายกำหนดให้ฉลากต้องแสดงสูตรสินค้าอาหารของเด็กทารก แต่ไม่จำเป็นต้องแสดงวันหมดอายุ (ยกเว้นในบางรัฐที่มีกฎหมายต้องแสดงวันหมดอายุในฉลาก) หากเคยสังเกตฉลากจะพบว่ามีวันที่ที่มีความหมายแตกต่างกัน
เช่น ควรบริโภคก่อน (best if used by) ซึ่งจะเป็นวันที่เราควรบริโภคสินค้าเพื่อให้ได้รสชาติและคุณภาพที่ดีที่สุด แต่ไม่ใช่วันที่ปลอดภัยในการบริโภค จึงทำให้ผู้บริโภค ไม่ทราบว่าหากบริโภคหลังจากวันนั้นจะปลอดภัยหรือไม่
บางครั้งอาจพบฉลากพิมพ์ว่า ควรขายก่อน (sell-by) ซึ่งสามารถแปลได้ว่า ร้านค้าควรวางขายสินค้านานเท่าไร ซึ่งมักพบฉลากดังกล่าวในสินค้าประเภทอาหารที่เก็บได้ไม่นาน (perishable products) เช่น เนื้อสัตว์ หากซื้อแล้วต้องแช่ตู้เย็นและใช้ประกอบอาหารภายใน 2-3 วัน สำหรับประเทศไทย สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) กระทรวงสาธารณสุข กำหนดข้อความที่ต้องแสดงส่วนหน้าของฉลาก ได้แก่ ชื่ออาหาร ปริมาณสุทธิ และวันเดือนปีที่ผลิต หรือเดือนปีที่ผลิต วันเดือนปีที่หมดอายุ หรือควรบริโภคก่อน

3.อาหารของเด็กมักถูกจัดวางในระดับความสูงที่เด็กสามารถเอื้อมมือถึง

หากพาลูกหลานไปช็อปปิ้งต้องระวังเด็กหยิบสินค้าต่างๆ เอง เนื่องจากในปัจจุบันเทคโนโลยีและการออกแบบภาชนะบรรจุได้ดึงดูดให้เด็กหลงใหล เช่น มีสีสันสวยงาม มีการ์ตูนและการจัดวางชั้นที่ทำให้เด็กเล็กๆ สามารถหยิบได้สะดวก จึงมีนักวิจัยให้คำแนะนำว่า ไม่ควรนำลูกหลานไปเดินช็อปปิ้งด้วยเพราะเด็กๆ จะสามารถหยิบจับสินค้าได้ตามใจชอบ หากสังเกตการวางสินค้าในชั้นจะพบว่า ขนมของเด็กที่มีรสหวานจะวางในชั้นล่างๆ
ส่วนอาหารสุขภาพ เช่น ธัญพืช จะวางในชั้นสูงๆ ซึ่งเป็นหลักการเดียวกับการวางลูกอม หมากฝรั่งที่แคชเชียร์นั่นเอง เป็นกลยุทธ์การจัดวางชั้นเพื่อเพิ่มยอดขายสินค้า เนื่องจากหยิบจับได้ง่ายไม่ต้องหาสินค้านาน

4.การหั่น ตัด หรือแบ่งขายอาหารในปริมาณเล็กลง เพื่อขายในราคาที่สูงขึ้น
ในแผนกอาหารสินค้าประเภทผลไม้ เช่น สับปะรด แตงโม ผัก มักถูกแบ่งขายเพื่อให้ง่ายต่อการนำไปบริโภคหรือทำเป็นสลัด ในแผนกเนื้อสัตว์ เนื้อหมู เนื้อไก่ เนื้อวัว ถูกแบ่งเป็นชิ้นๆ และหมักซอสต่างๆ เพื่อความสะดวกในการนำไปประกอบอาหารทันที ทำให้ลูกค้ามีความสะดวกสบายมากขึ้น
แต่หากมองในแง่ความคุ้มค่าแล้วจะพบว่า เราต้องจ่ายเงินแพงขึ้นหากเปรียบเทียบกับสินค้าประเภทเดียวกันที่ไม่ได้ตัด หรือแบ่งขายเพียงเพื่อลดความยุ่งยากของการใช้มีด ดังนั้นจึงควรพิจารณาว่าความสะดวกนี้คุ้มค่ากับเงินที่ต้องจ่ายเพิ่มไปหรือ ไม่

5.สินค้าที่ดีต่อสุขภาพมักถูกจัดวางในตำแหน่งที่หยิบจับยาก
ไม่เป็นที่แปลกใจหากพบว่าสินค้าที่อยู่ในระดับสายตาและหาง่ายมักเป็นสินค้า ที่มีสีสันและราคาสูง อาจเป็นสินค้าที่ไม่ได้อยู่ในราย การสินค้าที่จะซื้อ แต่ด้วยการออกแบบบรรจุภัณฑ์ การวางสินค้าในตำแหน่งที่สะดุดตาและหยิบจับง่าย ทำให้ซื้อสินค้ามาโดยไม่ได้ตั้งใจ
แต่สำหรับสินค้าที่ดีต่อสุขภาพจำพวกธัญพืช อาหารที่มีปริมาณไขมันต่ำ มักวางอยู่ในชั้นล่างหรือบนสุด ทำให้โอกาสการซื้อน้อยกว่า ดังนั้นจึงควรพิจารณาสินค้าที่วางนอกเหนือระดับสายตาเพื่อสุขภาพของท่านเอง

6.ตำแหน่งหัวและท้ายของชั้นวางสินค้า เป็นจุดที่ดึงดูดให้ซื้อของที่ไม่อยู่ในรายการสินค้าที่ต้องกา
บริษัทผู้ผลิตอาหารต้องจ่ายค่าวางสินค้าเพื่อให้สินค้าของตนได้วางอยู่ใน ตำแหน่งที่สะดุดตาลูกค้าที่สุด ได้แก่ ตำแหน่งหัวและท้ายของชั้นวางสินค้า โดยสินค้าที่มีส่วนต่างกำไรสูง หรือสินค้าที่อยู่ในกลุ่มเดียวกัน เช่น ช็อกโกแลต แครกเกอร์ มักถูกออกแบบและจัดวางสินค้าในตำแหน่งที่ดึงดูดลูกค้า
นอกจากนี้ ตำแหน่งหัวและท้ายของชั้นวางสินค้า มักเป็นตำแหน่งที่ใช้วางสินค้าที่อยู่ในช่วงส่งเสริมการขาย ทำให้บางครั้งลูกค้าเข้าใจว่าสินค้าราคาถูก และอาจซื้อสินค้าไป ทั้งที่ความเป็นจริงไม่ได้มีการลดราคา
จากการวิจัย พบว่าลูกค้าประมาณ 30% ชอบซื้อสินค้าตำแหน่งหัวและท้ายของชั้นวางสินค้า มากกว่าสินค้าที่วางอยู่ตรงกลาง ด้วยเหตุผลที่คิดว่าเป็นตำแหน่งที่วางจำหน่ายสินค้าลดราคา (โดย Brian Wansink, Ph.D., ผู้จัดการของห้องปฏิบัติการ Food and Brand ที่มหาวิทยาลัยคอร์แนล สหรัฐอเมริกา และ ผู้แต่งหนังสือ Mindless Eating)
นอกจากนี้ ร้านค้ายังใช้หลักการการทำเหมืองข้อมูล (data mining) เพื่อเพิ่มยอดขาย ด้วยการนำข้อมูล ณ จุดขาย (point of sale, POS) ไปใช้ในการวิเคราะห์พฤติกรรมการบริโภค เพื่อนำไปประกอบการวางแผนการขาย และตำแหน่งการวางสินค้าในชั้น
ดังตัวอย่างการนำหลักการทำเหมืองข้อมูลในการวิเคราะห์พฤติกรรมการซื้อสินค้า ที่มีชื่อเสียงอย่างร้านค้าปลีกที่ใหญ่ที่สุดในโลกอย่างวอล-มาร์ต ได้วิเคราะห์ข้อมูล ณ จุดขาย พบว่าลูกค้าชายนิยมซื้อผ้าอ้อมไปพร้อมๆ กับเบียร์ในวันศุกร์ โดยมีการศึกษาละเอียดถึงช่วงเวลาที่ซื้อ
เมื่อวิเคราะห์สาเหตุ พบว่า เนื่องจากผ้าอ้อมมีขนาดใหญ่ แม่บ้านจึงมอบหมายให้สามีเป็นผู้รับผิดชอบในการซื้อ และฝ่ายพ่อบ้านมักใช้เวลาในช่วงวันศุกร์เพื่อซื้อผ้าอ้อมและตั้งใจซื้อ เบียร์เพื่อดื่มในช่วงวันหยุดในคราวเดียวกัน ดังนั้นวอล-มาร์ตจึงวางแผนการขายโดยวาง ชั้นวางเบียร์พรีเมี่ยมไว้ใกล้กับชั้นวางผ้าอ้อมโดยไม่มีการลดราคา
ดังนั้น แทนที่ปกติพ่อบ้านจะซื้อเบียร์ธรรมดาพร้อมกับผ้าอ้อม เมื่อเห็นเบียร์พรีเมี่ยมวางใกล้กับผ้าอ้อมก็สะดวกขึ้น ทำให้วอล-มาร์ตสามารถเพิ่มยอดขายเบียร์พรีเมี่ยม
นอกจากนี้ พ่อบ้านที่ไม่เคยซื้อเบียร์ พอเห็นว่ามีเบียร์วางขายใกล้กับผ้าอ้อมก็ซื้อด้วยกัน ทำให้ยอดขายยิ่งพุ่งขึ้นเป็นลำดับ (ที่มา http://www.informationdrivers.com/ market_basket_analysis.htm)
ดังนั้น คงไม่ต้องสงสัยในเหตุผลที่ร้านค้า นิยมให้ท่านสมัครสมาชิก เพื่อรับส่วนลดในการซื้อสินค้าผ่านบัตรสมาชิก เนื่องจากร้านค้าได้ประโยชน์จากข้อมูลที่บันทึกผ่านบัตรในการ ส่งเสริมการขายให้เหมาะสมกับพฤติกรรม การซื้อของลูกค้าแต่ละราย

7.การซื้อของราคาถูกอาจไม่เป็นการ ประหยัดเสมอไป

หลายคนคงชื่นชอบการส่งเสริมการตลาดแบบซื้อ 2 แถม 1 หรือ 3 ชิ้น 100 บาท จากการวิจัยพบว่า ท่านอาจซื้อสินค้ามากกว่าความจำเป็นถึง 30% และในบางครั้งการจำกัดปริมาณการซื้อ เช่น 10 ชิ้นต่อครอบครัว เป็นการสื่อให้ลูกค้าเข้าใจว่าเป็นสินค้าที่ราคาถูก จึงเพิ่มโอกาสให้ซื้อสินค้าในจำนวนมากกว่าปกติ
ในความเป็นจริงแล้ว การซื้อของมากเกินความจำเป็น ไม่ถือว่าเป็นการประหยัดที่แท้จริง และแย่ยิ่งไปกว่านั้นคือ ทำให้ท่านต้องบริโภคมากเกินจำเป็น
"การซื้อสินค้าโดยไม่คิดให้รอบคอบทำให้การบริโภคไม่รอบคอบไปด้วย เพราะสินค้าที่มีอยู่ในบ้านต้องถูกบริโภคไม่ว่ามันจำเป็น หรือไม่" Wansink กล่าว

8.การเดินช็อปปิ้งตามเส้นทางที่ร้านจัดไว้

จริงๆ แล้วไม่มีอันตรายใดๆ ในผังของร้านค้า แต่หากพิจารณาให้ดีจะพบว่าผังของร้านค้าถูกออกแบบให้เดินเลือกซื้อสินค้าให้ มากที่สุด จากทางเข้าประตูจะเดินผ่านชั้นวางสินค้าที่ไม่อาจตัดใจให้ไม่ซื้อได้ ซึ่งสินค้าเหล่านั้นมักไม่อยู่ในรายการสินค้าที่ต้องการซื้อ
เช่น ดอกไม้ หรือขนมปังที่เพิ่งอบเสร็จใหม่ๆ กว่าเราจะเดินไปถึงชั้นวางสินค้าที่ต้องการมักจะอยู่หลังร้าน เช่น เนื้อสัตว์ นม เราอาจหยิบสินค้าหลายอย่างที่ไม่ต้องการไปแล้ว ในความเป็นจริงนักวิจัยพบว่า ลูกค้ามักซื้อสินค้าที่ไม่ได้ตั้งใจถึง 60-70%

9.เคาน์เตอร์ขายสลัด (สลัดบาร์) อาจทำให้ป่วยได้

เนื่องจากผลิตผลทางการเกษตรที่อยู่ในสลัดบาร์มีความเสี่ยงต่อการปนเปื้อนของ เชื้อแบคทีเรียที่เป็นภัยต่อผู้บริโภค เช่น อี โคไล ซัลโมแนลล่า และโนโรไวรัส เป็นต้น (E. coli, salmonella และ Norovirus) ซึ่งเป็นผลมาจากการจัดเก็บสินค้าที่ไม่เหมาะสม
เช่น อุณหภูมิสูงเกินไป พนักงานไม่มีสุขลักษณะนิสัยที่ดี การเติมสินค้าบางส่วน ทำให้สินค้าที่อยู่ด้านล่างไม่ได้ถูกซื้อไป เพราะพนักงานมักเติมสินค้าเมื่อสินค้าเหลือครึ่งหนึ่ง ทำให้สินค้าด้านล่างอาจไม่สด เป็นต้น
โดย Michael Doyle, Ph.D., ผู้จัดการของ The Center for Food Safety and Quality Enhancement มหาวิทยาลัยจอร์เจีย สหรัฐอเมริกา แนะนำว่า ผู้บริโภคควรใส่ใจในความสดและสะอาดของสินค้าในสลัดบาร์ โดยร้านค้าต้องทิ้งสินค้าที่ขายไม่หมดวันต่อวัน ไม่ควรเก็บสินค้าของเมื่อวานมาขายในวันถัดไป อุณหภูมิในการเก็บสินค้าต้องได้มาตรฐาน
เช่น อาหารแช่เย็นควรเก็บที่อุณหภูมิต่ำกว่า 5 องศาเซลเซียส แต่อาหารสุกควรทำให้ร้อนที่อุณหภูมิสูงกว่า 60 องศาเซลเซียส (สอบถามเพิ่มเติมจากสายด่วน อย. 1556 กด 3 กดรหัส 0404) สำหรับการชิมสินค้าประเภทลูกอม ในกล่องหรือถาด โอกาสการปนเปื้อนเชื้อ แบคทีเรียมีน้อยกว่า เนื่องจากเชื้อเหล่านั้นไม่สามารถเจริญเติบโตได้ในที่ที่มีความชื้นต่ำ

10.ร้านค้าอาจไม่ได้ทำความสะอาดบ่อยครั้งเท่าที่ควรจะเป็น

ฝ่ายตรวจสอบความสะอาดของร้านต้องตรวจสอบร้านค้าตามตารางการตรวจเยี่ยม เราอาจตรวจสอบความสะอาดของร้านด้วย ตัวเองได้ หากสังเกตแมลงต่างๆ ในร้าน เช่น แมลงวันที่พบในแผนกเนื้อสัตว์เป็นแหล่งแพร่เชื้อแบคทีเรียในอาหารดิบ แมลงสาบที่เดินตามพื้นเป็นพาหะนำโรคหลายชนิด และฝุ่นที่อยู่ในชั้นวางสินค้าหรือฝุ่นที่ปกคลุมกระป๋องอาหารหรือเครื่อง ดื่มเป็นดัชนีบ่งชี้ว่า สินค้านั้นวางอยู่บนชั้นนานเท่าใด

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

แหล่งเงินทุนธนาคารพาณิชย์

อาหารปลอดภัยด้วยรังสี

ไไไใเนนเสำใแนท = พิมผิดคร้าบบ