แหล่งเงินทุนธนาคารพาณิชย์

ผู้เขียน เฉลิมกรณ์

การดำเนินงานของธนาคารพาณิชย์เปรียบเสมือนเป็นตัวกลางทางการเงิน ทำหน้าที่รับฝากเงินและกู้ยืมเงินจากแหล่งต่างๆ ที่มีเงินเหลือมาให้กู้ยืมต่อแก่ผู้ที่ต้องการเงิน


แหล่งที่มาและใช้ไปของเงินทุน

โดยธนาคารพาณิชย์จ่ายดอกเบี้ยจำนวนหนึ่งให้กับผู้ฝากเงิน ซึ่งเป็นแหล่งที่มาของเงินทุนที่ใหญ่ที่สุดของธนาคารพาณิชย์ ถึงร้อยละ 80 โดยเงินฝากนั้นมาจาก บุคคลธรรมดา นิติบุคคล มูลนิธิ หรือจะเป็นการฝากต่อระหว่างธนาคารใหญ่มาฝากธนาคารเล็ก ก็เพื่อเอาดอกเบี้ยที่ได้เยอะกว่าจากธนาคารเล็กนั้น มาจ่ายดอกเบี้ยต่อที่ถูกกว่าให้กับผู้ที่นำเงินมาฝาก เงินที่เป็นช่องว่างนั้นก็คือกำไรของธนาคาร แหล่งที่มาของเงินทุนต่อมานั้นคือ การกู้ยืม เป็นการกู้ยืมโดยตรงเพื่อเสริมสภาพคล่องทางการเงินของธนาคารนั้นผ่านทางตลาด Interbank หรือ Repo 1วัน หรือจะเป็นการออกตั๋ว Bill of exchange ขายสถาบันการเงินต่างๆ โดยวิธีการมาประมูล นั้นก็ถือว่าเป็นแหล่งที่มาโดยการกู้ยืมเหมือนกัน โดยทั้งหมดนี้ก็รวมถึง การกู้ยืมจากสถาบันการเงินในต่างประเทศ และการกู้ยืมเงินจากธนาคารแห่งประเทศไทยด้วย ในส่วนของแหล่งที่มาสุดท้ายนั้น มาจากส่วนทุน ของธนาคารเองโดยแบ่งออกเป็น กองทุนชั้นที่ 1 และกองทุนชั้นที่ 2


กองทุนชั้นที่ 1 นั้นประกอบไปด้วย ทุนเรือนหุ้น หุ้นบุริมสิทธ์ควบหุ้นกู้ด้อยสิทธิ์ เป็นตราสารคล้ายทุนหมดอายุเมื่อยกเลิกบริษัทไถ่ถอนก่อนครบกำหนดหลังครบอายุ 5ปี จะจ่ายดอกเบี้ยอ้างอิงกับเมื่อมีการจ่ายเงินปันผลหุ้นสามัญ และเงินทุนสุดท้ายก็คือกำไรสะสมถ้าได้มาก็บวกเพิ่มรวมเข้าไปในกองทุนชั้นที่ 1 เช่นกันถ้าขาดทุนสะสมมาก็นำมาหักออก


กองทุนชั้นที่ 2ประกอบไปด้วย การตีค่าเพิ่มของมูลค่าที่ทำการ และหุ้นกู้ด้อยสิทธิ์ (สิทธิเป็นเจ้าหนี้น้อยกว่าหุ้นกู้ทั่วไป รับชำระคืนหลังจากหุ้นกู้ทั่วไป)


สรุปได้ว่าแหล่งที่มาจากเงินทุน นั้นมาจาก 3แหล่งด้วยกันคือ 1.เงินฝาก 2.เงินกู้ยืม 3.ทุน งั้นต่อมาเราจะมาดูกันต่อว่าหลังจากได้เงินจากแหล่งที่มาแล้ว ธนาคารพาณิชย์จะนำเงิน เหล่านั้นใช้ไปยัง แบบใดบ้าง 1.เงินให้สินเชื่อ ถือเป็นเงินทุนหลักของธนาคาร ดังที่กล่าวมาข้างต้นแล้วว่า ธนาคารเปรียบเสมือนตัวกลางทางการเงิน เมื่อได้เงินฝากมานั้น ธนาคารพาณิชย์ก็จะ ออกมาให้กู้หรือเรียกว่าการปล่อยสินเชื่อนั่นเอง โดยที่จะปล่อยสินเชื่อ ให้กับ บุคคลธรรมดา นิติบุคคล สถาบันการเงินในและนอกประเทศ รวมทั้ง ให้กู้ยืมแก่รัฐบาล หรือการให้กู้ยืมโดยตรงผ่านตลาด Interbank หรือ Repo 1วัน โดยที่ธนาคารพาณิชย์จะคิดอัตราดอกเบี้ยจากผู้ที่กู้ยืมเงินจากธนาคารพาณิชย์ในอัตราสูงกว่า ธนาคารได้รายได้จากส่วนต่างของอัตราดอกเบี้ยส่วนต่างนั้นรายได้นี้ธนาคารนำมาใช้เป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานเช่น เงินเดือน ค่าจ้าง ค่าอาคาร และวัสดุต่างๆรายได้ส่วนที่เหลือจากการจ่ายค่าใช้จ่ายเหล่านี้ถือเป็นกำไรจากการประกอบการ ก็จะนำไปลงทุนต่อ ซึ่งก็คือ ในส่วนของ 2.เงินลงทุนนั่นเอง ก็จะมีการลงทุนใน สินทรัพย์ถาวรในประเทศและต่างประเทศ เพื่อกระจายความเสี่ยง พันธบัตรรัฐ รัฐวิสาหกิจ ตั๋วเงินคลัง พธบ.กองทุนฟื้นฟู เพื่อเสถียรภาพ ทางการเงินในประเทศ และสุดท้าย หุ้น และหุ้นกู้ เพื่อผลตอบแทนที่สูงกลับมา


แหล่งที่มาของรายได้และรายจ่าย

โดยธนาคารพาณิชย์จ่ายดอกเบี้ยจำนวนหนึ่งให้กับผู้ฝากเงิน แลผู้ให้กู้และคิดดอกเบี้ยจากผู้กู้ยืมเงินจากธนาคารพาณิชย์ในอัตราที่สูงกว่า ธนาคารได้รายได้จากส่วนต่างของอัตราดอกเบี้ยส่วนต่างนั้น ที่เรียกว่า spread รายได้นี้เป็นรายได้หลักของธนาคารพาณิชย์ เพระเงินแหล่งที่มาของรายได้ชนิดนี้ก็คือเงินฝากสำคัญอย่างยิ่ง และรายได้จำนวนนี้ก็เป็นตัวกำหนดความน่าเชื่อถือของธนาคาร กำหนดต้นทุน และสภาพคล่องทางการเงินของธนาคารที่จะปล่อยสินเชื่อหรือที่เรียกง่ายๆว่าให้กู้ต่อไปกับลูกหนี้ถ้าได้ต้นทุนเงินฝากมาแพงก็ทำให้ได้รายได้น้อยแต่ถ้าไม่ได้มาแล้วต้องกู้ยืมเงินทุนจาก ธนาคารหรือสถาบันการเงินที่อื่นๆบ่อยๆก็อาจทำให้ธนาคารล้มละลายได้เนื่องจากสภาพคล่องจากรอบการชำระหนี้คืนของธนาคาร แต่ก็ยังมีรายได้อีกตัวหนึ่งคือ Non-interest income ก็พวกค่าธรรมเนียมต่างๆในการให้บริการของธนาคาร อัตราแลกเปลี่ยนจากการสำรองค่าเงิน ผมว่ามันเป็นรายได้หนึ่งที่สำคัญไม่น้อยเลยครับเนื่องจากผลกระทบจากพรบ.คุ้มครองเงินฝากในอนาคตผู้ฝากเงินรายใหญ่จะกระจายความเสี่ยงออกไปโดยไม่ได้ฝากเงินเพียงอย่างเดียวเพราะในอนาคตรัฐบาลไม่ได้รับประกันเงินฝากเต็มจำนวนทำให้เงินทุนจากการฝากเงินมีจำนวนลดลง ทำให้ธนาคารพาณิชย์จึงต้องเตรียมตัวปรับเปลี่ยนกลยุทธ์บ้างเห็นได้จากตอนนี้ที่รับฝากเงินแล้วเดี๋ยวนี้ยังมี รับทำประกันต่างๆ ชำระสินค้าอุปโภคบริโภค และอื่นๆอีกแต่ยังไงก็ตาม รายจ่ายใหญ่ก็คงเป็นดอกเบี้ยจ่ายให้กับผู้ฝากเงินฝากอยู่นั่นเองรองลงมาก็เป็นเงินกู้ยืมจากสถาบันการเงินต่างๆ โดยตรงหรือโดยผ่านตลาด Interbank หรือ Repo จากนั้นก็เป็นค่าใช้จ่ายจากการดำเนินงาน จำพวกเงินเดือนพนักงาน และอื่นๆ และค่าใช้จ่ายจำพวกตัดตามหลักบัญชีก็คือค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญและก็หนี้สูญ (NPL) สุดท้ายก็คือเงินปันผลและกำไรสะสม/ขาดทุนสะสม เงินปันผลก็จะถูกให้กับเจ้าของหุ้นสามัญ และกำไรสะสม/ขาดทุนสะสม ถูกจ่ายเข้า กองทุนชั้นที่ 1 ถ้ากำไรก็ไปบวกถ้าขาดทุนก็ไปลบออก


เงินกองทุน มีผลกระทบ ต่อความสามารถในการให้สินเชื่อ
ก่อนอื่น เราควรจะมาทำความเข้าใจกับที่มาของมันก่อนครับ กองทุนชั้นที่ 1 และ กองทุนชั้นที่ 2 เป็นส่วนหนึ่งของแนวความคิดในการป้องกันการล่มสลายของธนาคาร เนื่องจากการให้สินเชื่อที่มีความเสี่ยงสูงเกินควร

เนื่องจากรัฐบาลจะเป็นผู้ค้ำประกันเงินฝากของประชาชนเต็มจำนวน ฉะนั้น จึงเกิดปัญหาพฤติกรรมสุ่มเสี่ยง (Moral Hazard)ของธนาคารบางธนาคารเกิดขึ้น นั่นคือธนาคารที่ต้องการกำไรมาก ๆ ก็จะไปให้สินเชื่อที่มีความเสี่ยงสูง เหตุผลที่ทำอย่างนั้นก็เพราะว่าถ้าการให้สินเชื่อนั้นได้กำไร ธนาคารนั้นก็จะได้ผลกำไรเทียบต่อเงินลงทุน (Return of Equity)สูง แต่ถ้าการลงทุนนั้นขาดทุน ธนาคารก็ไม่มีอะไรเสีย เพราะเงินที่นำไปลงทุนนั้นส่วนใหญ่เป็นจะเป็นเงินฝากของประชาชนซึ่งได้รับ การค้ำประกันจากรัฐบาล พูดง่าย ๆ ก็คือ ถ้าได้ธนาคารพาณิชย์ก็ได้กินกำไร ถ้าเสียรัฐบาลก็เป็นคนจ่าย โดยนำเอาภาษีของประชาชนมาจ่าย

เพื่อแก้ปัญหาเรื่องพฤติกรรมสุ่มเสี่ยงนี้ Bank of International Settlements (BIS) จึงได้จัดตั้งมาตรฐานของธนาคารพาณิชย์ในการถือครองทรัพย์สินขึ้น ในเดือนเมษายน ปี 1995 มาตรฐานดังกล่าวนี้ระบุว่าธนาคารพาณิชย์ควรมีสัดส่วนทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยงไม่ต่ำกว่า 8.5% จึงจะเรียกได้ว่าธนาคารนั้นมีการจัดตั้งสินทรัพย์ที่เหมาะสมครับ โดยแยกประเภทเป็น


กองทุนชั้นที่ 1 คือเงินลงทุนถาวร (ธนาคารได้แล้วได้เลยไม่มีพันธะผูกพันว่าจะต้องให้ผลตอบแทนซึ่งก็คือ ดอกเบี้ยแก่ผู้ถือหุ้นนั้น) ซึ่งก็คือหุ้นสามัญ กำไรหรือขาดทุนสะสม หุ้นบุริมสิทธิ์ควบหุ้นกู้ด้อยสิทธิ์นั่นเอง ไม่มีความเสี่ยงและภาระผูกพันต่อธนาคาร ธนาคารสามารถใช้เงินนั้นชำระหนี้ได้เลย โดยที่ในเงินกองทุนทั้งหมดรวมกันได้ 8.5% นั้นจะต้องเป็นเงินกองทุนชั้นที่ 1 4.25% ขึ้นไป ส่วนกองทุนชั้นที่ 2 คือ เงินลงทุนที่มีอายุจำกัดและต้องมีภาระดอกเบี้ยตามมา ซึ่งก็ได้แก่ หุ้นกู้ด้อยสิทธิ์ ราคาตีค่าเพิ่มของมูลค่าที่ทำการ ธนาคารสามารถใช้ป้องกันความเสี่ยงได้แต่มีภาระผูกพันและมีอาจมีปัญหาเรื่องดอกเบี้ยจ่าย โดยในกองทุนชั้นที่ 2 เมื่อบวกกับเงินกองทุนชั้นที่ 1 แล้ว จะต้องมากกว่า 8.5% ขึ้นไป


การขยายสินเชื่อของธนาคารพาณิชย์ มีเงินกองทุนทั้งสิ้น 500 ล้านบาท

v ถ้ากำหนด BIS ต่ำไว้ จะทำให้การขายสินเชื่อได้ สูง *แต่ต้องไม่ต่ำกว่า 8.50%

เช่น

เงินกองทุนทั้งสิ้น = 8.50

ส่วนด้วยสินทรัพย์เสี่ยงถ่วงน้ำหนัก = 100



ขยายสินทรัพย์เสี่ยง = 100/8.50

ขยายสินทรัพย์เสี่ยงได้ จำนวน 11.76 เท่าของ

เงินกองทุนทั้งสิ้น

11.76*500 จะขยายสินเชื่อได้ไม่เกิน 5,880 ล้านบาท


v ถ้ากำหนด BIS สูงไว้ จะทำให้การขายสินเชื่อได้ ต่ำ

เช่น

เงินกองทุนทั้งสิ้น = 10

ส่วนด้วยสินทรัพย์เสี่ยงถ่วงน้ำหนัก = 100


ขยายสินทรัพย์เสี่ยง = 100/10

ขยายสินทรัพย์เสี่ยงได้ จำนวน 10 เท่าของเงินกองทุนทั้งสิ้น

10*500 จะขยายสินเชื่อได้ไม่เกิน 5,000 ล้านบาท


ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

อาหารปลอดภัยด้วยรังสี

ไไไใเนนเสำใแนท = พิมผิดคร้าบบ